About

ระบบนิเวศของ Green Mobility

ระบบนิเวศ Green Mobility เกิดขึ้นจากการรวมกลุ่มของนักวิจัยและบริษัทที่มีเป้าหมายเดียวกัน สำหรับการพัฒนาเมืองที่น่าอยู่อย่างยั่งยืนและชาญฉลาด สามารถสร้างความหวังและโอกาสอย่างเท่าเทียมทางสังคมให้กับชาวเมือง ดังนั้นระบบบล็อกเชนแพลตฟอร์มจึงได้รับพิจารณาเป็นเครื่องมือสำคัญให้บริการแบบ One-Stop Service สำหรับพันธมิตร ผู้ประกอบการ นักธุรกิจและชาวเมือง และภาครัฐกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจความเชื่อมโยงระหว่างการพัฒนาเมือง แนวทางดำเนินโครงการพัฒนาเมือง และเศรษฐกิจดิจิทัล ให้กับทุกภาคส่วนแบบมีส่วนร่วมให้กับทุกคน

ห้างหุ้นส่วนจำกัด กรีน โมบิลิตี้ (GM) ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ.2566 โดยมีพันธกิจองค์กรในการดำเนินธุรกิจที่ได้จากผลผลิตงานวิจัยระดับ Proof of Concept เชิงทฤษฎีสู่ Proof of Concept เชิงพาณิชย์ ตลอดจนเป็นหน่วยงานประสานงานเชื่อมโยงระหว่างนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาเชิงพื้นที่สู่กิจกรรมต่าง ๆ อย่างเป็นรูปธรรม

ประเด็นปัญหาของเมือง (Pain point) การพัฒนาเมือง เป็นเครื่องมือทางนโยบายที่สำคัญของประเทศ (Engine of Growth) ที่จะยกระดับการเติบโตทางเศรษฐกิจ ลดความเหลื่อมล้ำและกระจายศูนย์กลางความเจริญ เพื่อตอบเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals – SDGs) ตามเกณฑ์ที่ได้รับการยอมรับของสากล โดยเป้าหมายร่วมของการพัฒนาเมืองในบริบทประเทศไทย คือ การพัฒนาเมืองในแต่ละท้องถิ่น เพื่อสามารถเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจที่น่าอยู่และชาญฉลาด (Livable and Smart City) ตลอดจนสถานการณ์ปัจจุบันเมืองและประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกเผชิญกับความท้าทายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) นำไปสู่การค้นหาแนวคิดและระเบียบวิธีการพัฒนาเมืองได้อย่างยั่งยืน

นิเวศ Green Mobility โดย GM ดำเนินการด้านที่ปรึกษาและบริหารจัดการกิจกรรมการพัฒนาเมืองที่น่าอยู่และชาญฉลาด (Livable and Smart City) เป็นหนึ่งในแนวคิดสำคัญ ซึ่งคาดว่าจะกลายเป็นกลไกขับเคลื่อนพัฒนาเมืองได้อย่างยั่งยืน สามารถนำไปสู่การสร้างกลไกความร่วมมือเพื่อการพัฒนาเมือง ระหว่างภาคีเครือข่ายต่าง ๆ ที่ประกอบไปด้วย ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่สำคัญ (Key Stakeholder) และผู้รับประโยชน์ (People/Citizen) ที่นำไปสู่ 1) กลไกแผนและนโยบาย 2) กลไกการลงทุน และ 3) กลไกการเรียนรู้และประเมินเมือง และสามารถพัฒนาและยกระดับการให้บริการสาธารณะของเมือง (City Services) โดยมีพื้นฐานกระบวนการมีส่วนร่วมดังกล่าวมาจากการวิเคราะห์ข้อมูลของระบบข้อมูลเมืองที่มีระบบตรวจสอบย้อนกลับ (Feedback Loop) ตลอดจนสามารถก่อเกิดกลไกการสร้างแผนการพัฒนาเมืองด้านการบริการสาธารณะและการลงทุนที่สอดคล้องกับดัชนีเมืองน่าอยู่และเมืองที่ชาญฉลาด

ตลอดจนการใช้ เศรษฐกิจดิจิทัลเป็นเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อเป็นกลไกพื้นฐานที่สำคัญในการขับเคลื่อนการปฏิรูปกระบวนการผลิต การดำเนินธุรกิจ การค้า การบริการ การศึกษา การสาธารณสุข การบริหารราชการแผ่นดิน และกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคมอื่น ๆ ที่ส่งผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในสังคม ซึ่งการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy Era) จะเกิดผลดีมากมาย เช่น การยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขัน ลดความเหลื่อมล้ำ และการพัฒนาศักยภาพมนุษย์ เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตามโอกาสมักมาพร้อมกับความท้าทายเสมอ หากเมืองโคราชและจังหวัดนครราชสีมาเตรียมความพร้อมและมีแนวทางรับมือกับความท้าทายที่เกิดขึ้น หรือสามารถนำเอาความท้าทายมาเป็นโอกาสได้ ย่อมทำให้เมืองโคราชและจังหวัดนครราชสีมาก้าวเข้าสู่เศรษฐกิจดิจิทัลได้อย่างเต็มศักยภาพ และเป็นเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมได้อย่างเต็มรูปแบบ